วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

นำเสนอ การออกแบบ Web Themes Design



Open publication - Free publishing - More arti3319

นำเสนอการออกแบบ Web Themes Design ใน Wordpress ของวิชา Arti3319 Technology For Visual Communication Design เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

อธิบายการทำ Wordpress ใน Portable อย่างละเอียด เพื่อที่อาทิตย์หน้าจะได้ทำการสอบ Present Web Themes Design เป็นการสอบ Final Project  และ มีการสอบทฤษฏีอีก 20 คะแนน    ส่วนในชั่วโมงมีการสอบ Post-test เพื่อเป็นการวัดผลก่อนสอบจริง     อาจารย์ได้แนะให้นักศึกษาไปลองโหลด Wordpress Themes Design แล้วลองมาติดตั้งดู เพื่อฝึกแก้ไขก่อนสอบจริง

สัปดาห์ที่ 13 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

เริ่มแรกเราต้องมี User ที่สมัครไว้อยู่แล้วของ Wordpress.com เพื่อที่จะสามารถสร้างหน้าเว็บใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาสมัคร User ใหม่
ให้เข้าไปที่ Dashboard > My Blogs แล้วให้กดตรงที่ วงกลมสีแดงไว้ คือ
> Register Another Blo0g> เมื่อทำการกดแล้วหน้าเว็ปจะเปลี่ยนหน้าไปเป็น
หน้าต่อไปซึ่งจะให้ใส่ ชื่อ URL ใหม่ที่เราต้องการ และใส่รายละเอียดให้ครบถ้วนเหมือนกันตอนที่ทำการสมัคร หน้าเว็ปแรก เมื่อทำการใส่่ข้อมูล
เมื่อทำการกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าเว็ปที่หมายความว่าเราทำการสมัครหน้าเว็ปใหม่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาถ้าอยากต้องตกแต่ง หรือ เปลี่ยนหน้าตาของ
wordpressของเรา ก็สามารถ กด ที่ Change your blog’s theme ที่หน้าเว็ปนี้ได้เลย โดยหน้าเว็ปจะมาที่หน้าการจัดการ Themes ของเรา โดยจะมี 2 ที่ ที่เราสามารถปรับเปลี่ยน ใน วงที่กำกับหมายเลข 3 คือ รูปแบบ Themes ที่ Wordpress นั้นมีให้ใช้ Freeเราสามารถนำมาแก้ไขดัดแปลงได้เอง โดยเข้าไป วงที่กำักับ หมายเลข 4 โดยส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับว่า Themes ที่เราเลือกมาันั้นว่าเป็นแบบไหน
โดยในส่วนที่วงกำกับหมายเลข 4 นั้น หลักๆ จะมีอยู่ 2 อย่างที่ คนส่วนมากมักปรับแต่งกันคือ ส่วนของ Background และ Header ในส่วนของ Background นั้น ขนาดขึ้นอยู่กับเราต้องให้เป็นแบบไหน เพราะโดยส่วนมากหน้าจอแต่ละที่จะไม่เท่ากัน จึงต้องกำหนดขนาดตามความเหมาะสมที่เรานำไปใช้ ในส่วนของ Header นั้น ขึ้นอยู่ Themesที่เรานำมาใช้ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ จึงสามารถกำหนดขนาดได้นั้นเอง หลังจากนั้นให้หา Themes ทีี่่เราชอบหรือที่เราต้องการ นำมาแก้ไข้
เมื่อได้ Themes ที่เราต้องการแล้ว จะปรากฏขึ้นอยู่ส่วนหัว ดังเช่นใน เลขที่กำกับที่ 5 (ภาพด้านขวา) โดย Themes นี้ จะมีให้เราสามารถแก้ไข้ได้อยู่ 4 แบบคือ Custom Design , Background , Header , Themes Optionโดยส่วนนี้จะจัดการ ปรับแต่ง แค่ Background กับ Header เริ่มแรกจะปรับแต่ง
Header ก่อน ให้ คลิ๊กที่ Header แล้วดู ขนาดตามแบบ แล้วทำปรับแต่งมาให้เรียบร้อย แล้วอัพโหลดขึ้น ในส่วนของ Background นั้นขึ้นอยู่กับเรา แล้วทำการอัพโหลดเช่นเดียวกับ Header
นี่คือ หน้าเว็ปที่จัดการ แก้ไข ใส่ Themes เรียบร้อยแล้ว โดย ใช้ Themes ภาพเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ รามเกียรติ์

สัปดาห์ที่ 12 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Download Wordpress Thai 3.3.1 Portable-Acadamy-Version
และศึกษาการสร้างรายละเอียดของการสร้างเว็ปไซต์แบบ Offline โดยเป็นตัวที่อาจารย์ทำการแปลภาษาเป็นภาษาไทยให้สามารถอ่านได้ง่ายขึ้น  โดยหลังจากทำการศึกษาอาจารย์ให้ทำการสอบ Skill-Test เลยเกี่ยวการสร้างหน้า เวปใหม่ โดยกำหนดเวลา่ 1 ชั่วโมง

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปความหมายของ Website Design...

Website Design  จากการสรุปที่ฟังการบรรยายในชั่วโมงเรียน หมายถึง  การสร้างหน้า Page
/Pages ที่มีข้อมูล(Data) ภาษา(Languages) รูปแบบ(Layout) สี(Color) ภาพ(Image) ที่ออกแบบเป็นไปตามความต้องการของนักออกแบบ เผยแพร่ทางเครือข่าย เชื่อมโยงไปทั่วโลก สามารถจัดแสดงและจัดเก็บข้อมูลอยู่ในหน้า Page ได้ เราสามารถจดทะเบียน Domain ของเราได้ตาม Web ที่รับจดทะเบียน อย่างเช่น Web  Godaddy http://www.godaddy.com/domains/get-a-website-Globe-2.aspx?isc=gfnf2th02
โดยจะเสียค่าเช่า Host เป็นรายปี ส่วนราคานั้นจะขึ้นอยู่่กับ Type ของ Domain เช่น .com .co .info  ราคาจะต่างกันไป  ในปัจจุบัน จะมีทา่งลัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ Website Design โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  Wordpress เป็นแบบ Open Source  หรือโปรแกรมสำเร็จรูป อาทิเช่น Dream Weaver , Flash , Express  โดยจะเป็นโปรแกรมแบบ Commercial ซึ่งจะช่วยในการทำ Website Design ได้อย่างง่ายและได้คุณภาพ...


URL Subdomain ของ wordpress.com : http://taweeponarti3319.wordpress.com/

สัปดาห์ที่ 11 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ตั้งคำถามว่า Website คืออะไร  และให้นักศึกษาทำการแชร์ความรู้กันว่าในมุมมองของแต่ละคน Website มีความหมายว่าอะไร หลังจากนั้น อาจารย์ได้ทำการอธิบาย เกี่ยวกับส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Website Design อย่างระเอียด  และพูดถึงการจดทะเบียน Website  ของตัวเองว่าต้องทำอย่างไรบ้าง  และให้นักศึกษาทำการสรุปใจความตามความเข้าใจหลังจากที่ได้ฟังการบรรยายจากอาจารย์และให้ไป ทำการตอบลงบน Comment ใน http://arti3319.blogspot.com/2012/02/website-design-is.html และทำการแจ้ง URL wordpress ของตัวเองลงไปด้วย


สัปดาห์ที่ 10 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

อาจารย์ให้ไปศึกษา wordpress.com และ แจ้งเตือนเรื่องการ รายงานข่าวสารว่าให้ส่งทั้งใน Google Docs และใน Blogspot และต้้องมีคนมา Comment ด้วย      อาจารย์ได้ให้นักศีกษาทำการสมัคร wordpress.com   และทำการแจ้ง Link URL ให้กับอาจารย์

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ



ที่มาของภาพ http://www.designboom.com/weblog/images/images_2/2011/jenny/topshot/topshot01r.jpg

เรื่อง.HP top shot 3D scannerรุ่น Laserjet Pro M275
ที่มาข่าวสารจากคอลัมน์:
http://www.designboom.com/weblog/cat/16/view/16579/hp-top-shot-3d-scanner.html
เนื้อหาข่าวสารต้นฉบับที่คัดลอกมา
Posted in:Designboom.com• Written by: Jenny Db

เครื่องตัวนี้จะเป็นการ Scan แบบ3D 3D ในที่นี้หมายถึงการถ่ายวัตถุ 3D ให้
มาเป็น 2D เท่านั้น โดยจะสแกนวัตถุด้วยการจับภาพของวัตถุ 3มิติ ด้วยการถ่าย
ภาพจากวัตถุ 6 ภาพ 3ภาพเป็นการจับภาพวัตถุจากมุมที่ต่างกัน และอีก3ภาพ เป็น
อีกภาพเป็นการจับแสงโดยรอบของวัตถุหลังจากนั้นจะนำมารวมเป็นภาพเดียว โดยจะ
ได้อารมณ์ของการถ่ายสตูโอที่มีคุณภาพสูงขนาดของวัตถุจะต้องไม่เกินขนาด A4

และข้อดีของมันอีกอย่างหนึ่งคือสามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ และยังสามารถ Upload ไฟล์ที่ Scan ขึ้นบน Web ได้เลย อย่างเช่นอัพขึ้น Google Docs ที่เราใช้ใน การศึกษากันอยู่ โดยจะมีหน้าจอสัมผัสขนาด 3.5 นิ้ว ไว้ให้ และความสามารถทั่วไป ก็คล้ายกับ Laser Jet ธรรมดาทั่วไป เช่น สั่งพิมพ์งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และ ราคาเปิดตัวอยู่ีที่ $400 เหรียญ หรือ ประมาน 12,000 บาท


เรียบเีีรียงโดย, ทวีพล สุทธิสัมพนิช สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบนิเทศศิลป์

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการสอบ Test Midterm ของ วิชา เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์  ใน http://Chandraonline.chandra.ac.th   เป็นการสอบแบบ ทฤษฎี ทั้งหมด  หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปล่อย หลังจากทำการสอบเสร็จ

สัปดาห์ที่ 8 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

อาจารย์ตรวจสอบชื่อในใบรายชื่อว่าที่ผ่านมีการเช็คถูกต้องตรงกันมั้ย และ ตรวจสอบการส่งงาน ของ  Font ลายมือใน Google Docs  และทำการสรุปสุดท้ายในการทำ Font ลายมือ    อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำการโปรโมท และ เผยแพร่ Font ลายมือของตัวเอง ลง Blogspot และ Issuu ตัวอย่างการนำเสนอ Font 
ที่มา. ผศ.ประชิด ทิณบุตร

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปรายงาน BOI FAIR 2011



ที่มา. ทวีพล สุทธิสัมพนิช,2555
แนวคิด: รวมพลังน้ำใจ "โลกสดใส ไทยยั่งยืน"
แนวคิดหลักของงาน บีโอไอแฟร์ 2011” ภายใต้ รวมพลังน้ำใจ โลกสดใส  ไทยยั่งยืนหรือ “Going Green for the Future” จะสอดคล้องกับการกำหนด ทิศทางการพัฒนา
ของประเทศให้เจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้
สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมที่มีความสุขและมีการ พัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การออกแบบแลนด์มาร์คของงานจะเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเหนื่อยยากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อให้ประชาชนชาวไทยอยู่
อย่างร่มเย็นเป็นสุข สถาปัตยกรรมของแลนด์มาร์คซึ่งจะจัดวางอยู่บนทะเลสาบ จะเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงหยาดพระเสโทของพระองค์ขณะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั่วทุกหนแห่งบนผืนแผ่นดินไทย
ศาลาศรัทธาศรม(RoyalPavilion)จะจัดแสดงไว้ในมุมที่รับกับแลนด์มาร์คเพื่อแสดงพระอัจฉริยภาพ พระราชกรณียกิจ และแนวพระราชดำริในด้านต่าง ๆ


ที่มา. ทวีพล สุทธิสัมนิช, 2555

จากที่อาจารย์ได้บอกว่าให้นักศีกษา ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ มา 1 อย่าง
จึงได้เลือก Canon IMAGEPROGRAF iPF8300  เครื่องพิมพ์ หรือ เครื่องปริ้น หน้ากว้าง
ขนาด 44 นิ้ว รองรับกระดาษได้ A0+

รายละเอียดของเทคโนโลยี
ความละเอียดการพิมพ์สูงสุด      2,400 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว (dpi )
จำนวนหัวพิมพ์  2 หัวพิมพ์ - ทั้งหมด 30,720 รูพ่นหมึก (2,560 รูพ่นหมึกต่อสี จำนวน 12 สี )
ชนิดของหมึก  LUCIA PigmentInk(พรอ้มระบบตรวจสอบการใช้หมึกต่อไฟล์ภาพ)
ปริมาตรหมึก  330/700 มิลลิลิตร หรือ ซี  ขนาดหยดหมึก 4 พิโคลิตรต่อสี
หน่วยความจำ (RAM)  Ram DDR 384 MB   ระบบตัดกระดาษ อัตโนมัติ
การป้อนกระดาษ 2 ทาง ได้แ้ก่ กระดาษม้วน และกระดาษแผ่นใส่ด้า้นหน้า
กำลังไฟ AC 100-240V (50/60 Hz) ขนาดเครื่อง 1,893 x975x1144 มม.
น้ำหนักเครื่อง ประมาณ 143 กก.  ขนาดวัสดุการพิมพ์   A4-B0
ความกว้า้งวัสดุการพิมพ์สูงสุด 203-1,118 mm., 8 นิ้ว - 44 นิ้ว
ความยาวสูงสุดในการพิมพ์ 18 ม.   ความหนาวัสดุการพิมพ์ 0.07-0.8 มม. (350 แกรมกระดาษ)



ที่มา. ทวีพล สุทธิสัมพนิช, 2555
ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มองเห็นว่ามีต่อวิชาชีพนักออกแบบนิเทศศิลป์
เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบสมัยนี้สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับเราได้
เป็นอย่างมาก ที่ผมมองเห็นในงาน BOI FAIR 2011 ครั้งนี้ คือ เครื่องปริ้นภาพขนาดเล็ก
แบบพกพา ของ Canon Selphy CP-780
จากคุณสมบัติของเจ้าตัวนี้ ถือว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ ที่มีความสะดวกสบาย
เป็นอย่างมากเพราะ สามารถพกพาไปไหนได้ สามารถนำ้ Memory Card ของกล้อง
หรือ สาย USB มาเสียบแล้วสามารถปริ้นภาพหรือไฟล์ งานอาทิเช่น นามบัตร โปสการ์ด
แต่แน่นอนว่าเทคโนโลยีเพื่อการแบบ ถึงแม้จะช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้นในด้านการ
ทำงานของเรา แต่มันก็จะมีขีดความสามารถ ข้อจำกัด หรือ ข้อเสียนั่นเอง เทคโนโลยี
เพื่อการออกแบบส่วนมากจะมีข้อจำกัดของแต่ละอันแตกต่างกันไป หรือ มีความโดด
เด่นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  อย่างเช่นที่ ผมนำเสนอ Canon Selphy CP-780
ไป มันก็ถือว่าช่วยในงานด้านการทำงานด้านการออกแบบได้ดีทีเดียว แต่ข้อเสียของมัน
คือ ขนาดของงานที่จะปริ้นเฉพาะเจาะจง เพราะเครื่องมีขนาดเล็ก จึงปริ้นได้แค่งานที่มี
ขนาดเล็กเท่านั้น และ อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้แบบนี้ ส่วนมากจะใช้ แบทเตอรี่ซะเป็นส่วน
ใหญ่ ในกรณีที่แบทเตอรี่หมด แล้วหาที่ ชาทแบทเตอรี่ไม่ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา
ได้  และ ส่วนมากเทคโนโลยีสมัยนี้ ที่ออกมาเพื่อช่วยทำให้ชีวิตเรามีความสะดวกสบาย
ยิ่งขึ้นนั้น จะมีราคาค่อนข้างแพงถึงแพงมาก อีกด้วย ทำให้ก็ตีกรอบของคนที่สามารถใช้
อุปกรณ์ไฮเทคสมัยนี้แคบลงมาอีก 

ที่มา. ทวีพล สุทธิสัมพนิช ,2555
อาจารย์ยังได้สั่งอีกว่า เรียนออกแบบ Font ให้ลองศึกษาและดู Font ในงาน BOI FAIR 2011 ว่ามีฟ้อนต์อะไรบ้าง ประเภทไหนบ้าง ตามล่าหาความจริงต้นตอไฟล์ฟ้อนต์ให้เจอ Font ที่ใช้งาน BOI FAIR 2011 นั้นเป็น Font ของ SIPA ทั้งหมด


วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์



เครื่องPrint ขนาดพกพา ของ Canon


ให้นักศึกษานำเสนอรายงาน BOI FAIR 2011 ว่าไปศึกษาอะไรมาบ้าง ตามโจทย์ที่อาจารย์ได้บอกหรือเปล่า ส่วนมากนักศึกษาที่ได้ออกไปเสนอรายงานยังทำมาไม่ตรงโจทย์ตามที่อาจารย์บอก และหลังจากนั้นยังได้พูดถึงเรื่อง Font ภายในงาน BOI FAIR 2011   และได้สอนการจัดอักษร ใน Font Creator เน้นเรื่องการจัดวรรณยุกต์ และให้กลับไปแก้้ไขให้ถูกต้อง

***แจ้งสอบกลางภาค ในสัปดาห์ที่ 9***


เครื่องพิมพ์ Canon iPF 8300 จาก Canon Pavilion
ที่มา. ทวีพล สุุทธิสัมพนิช



สัปดาห์ที่ 5 วิชาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์


ที่มา. http://www.most.go.th/main/index.php/organization-news/2504-semina-boi-fair-271254.html

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปดูงานที่ BOI FAIR 2011 ที่เมืองทองธานี  โดยให้ไปศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ แล้วนำำกลับมาทำรายงานและอัพลง Blogspot ของตัวเอง   ภายใต้โจทย์ที่อาจารย์ระบุไว้

ผู้ที่ไปศึกษาดูงาน BOI แล้ว
1.ได้ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์อะไรมาบ้าง (1 อย่าง)
2.ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มองเห็นว่ามีต่อวิชาชีพนักออกแบบนิเทศศิลป์คืออะไรบ้าง พร้อมเสนอหลักฐานที่มองเห็นในงานมาประกอบ
3.เรียนออกแบบฟ้อนต์ เห็นฟ้อนต์อะไรบ้าง ประเภทไหนบ้าง ตามล่าหาความจริงต้นตอไฟล์ฟ้อนต์ให้เจอ
4. ส่งรายงานสรุปสาระตามหัวข้อ ส่งภายในวันพฤหัสนี้เท่านั้น จำนวนหน้า ไม่น้อยกว่า 5 หน้าเนื้อหา (ไม่นับรวมหน้าปก สารบัญ คำนำ บรรณานุกรม)ขนาด A4 มีการอ้างอิงส่วนประกอบและรูปแบบอย่างถูกต้องตามระเบียบการทำเอกสารรายงาน ภาคนิพนธ์(มีหลักฐานแสดงชัดเจนว่าได้ไปศึกษาดูงานมาจริง) ส่งในGoogleDocs และเขียนสรุปลงในบล็อกของตัวเอง ( งานนี้ 5 คะแนน ใครไม่เอา ไม่ไปจริง ก็จะสนองให้ในชั้นเรียน)


อ้างอิงจาก : Google+ : ผศ. ประชิด ทิณบุตร


หลังจากนั้นฟังนักศึกษารายงานข่าวสารหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเื่พื่อการออกแบบ และ ได้วิจารณ์เรื่องฟ้อนต์ลายมือถือ Hand Written Project